วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุดรธานี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ
จังหวัดอุดรธานี

ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ



น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์


ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย อุดรธานี
ชื่ออักษรโรมัน Udon Thani
ชื่อไทยอื่นๆ อุดร
ผู้ว่าราชการ นายอำนาจ ผการัตน์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-41
สีประจำกลุ่มจังหวัด สีส้ม (สีแสด) ███
ต้นไม้ประจำจังหวัด เต็ง
ดอกไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 11,730.302 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 11)
ประชากร 1,538,940 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 7)
ความหนาแน่น 131.19 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 30)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์ (+66) 0 4224 3368
โทรสาร (+66) 0 4224 8777
เว็บไซต์ จังหวัดอุดรธานี
แผนที่



--------------------------------------------------------------------------------

ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย



ดู "อุดรธานี" ในความหมายอื่นได้ที่ อุดรธานี (แก้ความกำกวม)
จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานียังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติศาสตร์
2 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
2.1 คำขวัญประจำจังหวัด
2.2 ตราประจำจังหวัด
2.3 ธงประจำจังหวัด
2.4 ต้นไม้ประจำจังหวัด
2.5 พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
3 อาณาเขตติดต่อ
4 การเมืองการปกครอง
5 หน่วยการปกครอง
6 การศึกษา
7 แหล่งท่องเที่ยว
7.1 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
7.2 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
7.3 แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรม
7.4 เส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง
8 สวนสาธารณะในจังหวัดอุดรธานี
9 อุทยาน
10 การเดินทาง
11 ชาวอุดรธานีที่มีชื่อเสียง
12 ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดอุดรธานี
13 อ้างอิง
14 ดูเพิ่ม
15 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอบ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200-1800) และสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวารวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณทิวเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่างปี พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณปี พ.ศ. 2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

ในปี พ.ศ. 2428 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้ายกำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานีก็ยังไม่ปรากฏชื่อ เพียงแต่ปรากฏชื่อ "บ้านหมากแข้ง" หรือ "บ้านเดื่อหมากแข้ง" สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคม หรือเหตุผลอื่นดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ ในอดีต

อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏชื่อเมื่อปี พ.ศ. 2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง อยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
อักษรย่อ: อด
[แก้] คำขวัญประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด: น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
[แก้] ตราประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2483

[แก้] ธงประจำจังหวัด
เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง

[แก้] ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8-15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เต็ง (Shorea obtusa)
[แก้] พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร ใบรูปไข่ ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

[แก้] อาณาเขตติดต่อ
อุดรธานีมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จรดจังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ จรดจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก จรดจังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู
[แก้] การเมืองการปกครอง
หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,880 หมู่บ้าน 101 ชุมชน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 44 เทศบาลตำบล 132 องค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวนประชากรแยกเป็นชาย 768,122 คน หญิง 767,507 คน รวม 1,535,629 คน จำนวนครัวเรือน 414,868 ครัวเรือน

[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,682 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคืออำเภอในจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน

อำเภอเมืองอุดรธานี
อำเภอกุดจับ
อำเภอหนองวัวซอ
อำเภอกุมภวาปี
อำเภอโนนสะอาด
อำเภอหนองหาน
อำเภอทุ่งฝน
อำเภอไชยวาน
อำเภอศรีธาตุ
อำเภอวังสามหมอ
อำเภอบ้านดุง
อำเภอบ้านผือ
อำเภอน้ำโสม
อำเภอเพ็ญ
อำเภอสร้างคอม
อำเภอหนองแสง
อำเภอนายูง
อำเภอพิบูลย์รักษ์
อำเภอกู่แก้ว
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม


[แก้] การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วิทยาเขตสามพร้าว
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ อุดรธานี
วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุดรธานี
วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
[แก้] แหล่งท่องเที่ยว
[แก้] แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
สวนสาธารณหนองประจักษ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
ภูฝอยลม อำเภอหนองแสง
อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยหลวง อำเภอเมืองอุดรธานี
สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ อำเภอเมืองอุดรธานี
วนอุทยานนายูง อำเภอน้ำโสม
น้ำตกธารงาม
ถ้ำสิงห์
คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
[แก้] แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมืองอุดรธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อำเภอหนองหาน
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ
พระพุทธบาทบัวบก
พระพุทธบาทบัวบาน
วัดป่าภูก้อน
วัดป่าบ้านตาด
วัดทิพยรัฐนิมิตร
ศาลหลักเมือง อำเภอเมืองอุดรธานี
ศาลเจ้าปู่-ย่า อำเภอเมืองอุดรธานี
วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองอุดรธานี
คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
ถ้ำสิงห์
วัดถ้ำสหาย
[แก้] แหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรม
แหล่งจำหน่ายผ้าพื้นเมือง บ้านนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี
งานมหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิดจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จัดระหว่างวันที่ 1-15 ธันวาคมของทุกปี
งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จัดบริเวณวัดพระพุทธบากบัวบก ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
งานฉลองเจ้าปู่ เจ้าย่า อำเภอเมืองอุดรธานี จัดทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
งานประเพณีออกพรรษาชิงถ้วยพระราชทาน อำเภอกุมภวาปี ช่วงออกพรรษาของทุกปี
งานเทศกาลโคมลม อำเภอพิบูลย์รักษ์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
งานถนนอาหาร สงกรานต์เมืองอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จัดในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายนของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ และถนนเทศา
งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน บ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จัดขึ้นวันที่ 15 ค่ำ เดือน 6
บ้านไทพวน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน
[แก้] เส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง
อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย
จากวัดป่าบ้านตาด-วัดถ้ำกลองเพล-อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร-ถ้ำเอราวัณ-ภูกระดึง หรือภูหลวง-ภูเรือ-แก่งคุดคู้

อุดรธานี-หาดโขงแก่งโขง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท-วัดป่าภูก้อน-วัดป่าบ้านเพิ่ม-หาดคัมภีร์-แก่งคุดคู้-น้ำตกตาดหมอก-น้ำตกธารทอง

อุดรธานี-หนองคาย
จากวัดพระธาตุบังพวน-วัดพระธาตุองค์ตื้อ-เวียงคุก-สะพานมิตรภาพ-ท่าเสด็จ-ศาลาแก้วกู่

อุดรธานี-หนองบัว-ขอนแก่น
วัดถ้ำกลองเพล-อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ-เขื่อนอุบลรัตน์-วัดพระพุทธบาทภูพานคำ-วัดพระธาตุขามแก่น-น้ำตกธารงาม

อุดรธานี-สกลนคร
บ่อสร้างเหวย-บ้านเชียง-วัดป่าอุดมสมพร-วัดถ้ำขาม-หนองหาน-วัดพระธาตุเชิงชุม-วัดป่าสุทธาวาส-พระตำหนักภูพานราชนิเวศ-น้ำตกปรีชาสุขสันต์-เขื่อนน้ำอูน

อุดรธานี-กาฬสินธุ์
วัดป่าบ้านตาด-วัดมหาธาตุเจดีย์ดอนแก้ว-วัดป่าแมว-วนอุทยานภูพระ-เขื่อนลำปาว-สวนสะออน-ไดโนเสาร์สหัสขันธ์-บ้านโพนแพรวา

[แก้] สวนสาธารณะในจังหวัดอุดรธานี
1. สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัว เมืองเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานีได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก ทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

2. สวนสาธารณะหนองสิม เป็นสวนสาธารณะในย่านชุมชนที่จะให้บริการแก่ประชาชนสำหรับเป็นสถานที่ใช้ในการออกกำลังกาย พักผ่อน ซึ้งภายในได้มีการจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ

3. สวนสาธารณะหนองบัว เป็นสวนสาธารณะสำหรับใช้ออกกำลังกายจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกัน สวนสาธารณะหนองบัวตั้วอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ภายในจัดเป็นสวนหย่อมปลูกต้นไม้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงน้ำพุให้ได้ชมกันอีกด้วย และรอบสวนสาธารณะหนองบัวยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ด้วย นั่นก็คือ ศาลเจ้าปู่ย่า จังหวัดอุดรธานี

[แก้] อุทยาน
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
อุทยานธารงาม-ภูฝอยลม
[แก้] การเดินทาง
เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ

ทางรถยนต์ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 จากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรีบริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 546 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง ได้แก่ บริการรถโดยสารทั้งธรรมดาและรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (จตุจักร) ถนนกำแพงเพชร 2
ทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย
กรุงเทพฯ-หนองคาย มีขบวนรถตอนเช้า - เย็น
กรุงเทพฯ-อุดรธานี มีขบวนรถตอนเช้า - เย็น
นครราชสีมา-หนองคาย
อุดรธานี-ท่านาแล้ง (ลาว)
ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดต่าง ๆ คือ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร พิษณุโลก นครพนม เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มุกดาหาร อุบลราชธานี และอุตรดิตถ์ และจังหวัดอื่น ๆ เป็นต้น
[แก้] ชาวอุดรธานีที่มีชื่อเสียง
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี และทรงพัฒนาจังหวัดอุดรธานี
ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง
สัญญา คุณากร นักแสดง-พิธีกรชื่อดัง
ต้องตา เกียรติวายุภักษ์
นำชัย ทักษิณอีสาน
วันดี สิงห์วังชา
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการด้านสื่อโทรคมนาคม
หลวงปู่ขาว อนาลโย
หลวงตามหาบัว
ฝน ธนสุนทร นักร้อง
อาณัตพล ศิริชุมแสง เดอะสตาร์ 3
โกสินทร์ ราชกรม นักแสดง
จามจุรี เฉิดโฉม นักแสดง
อนุสรา วันทองทักษ์ ผู้เข้าแข่งขันในปฏิบัติการคนล่าฝัน (Academy Fantasia) ปีที่ 2
กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกลือ) ผู้กำกับละคร บ้านนี้มีรัก นักแสดงเรื่อง เป็นต่อ
รุจินันท์ พันธ์ศรีทุม รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส อันดับ 1 ประจำปี 2552
สุดารัตน์ บุตรพรหม (ตุ๊กกี้ สามช่า) ชิงร้อยชิงล้าน
จอมพลประภาส จารุเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี
แหลม มอริสัน มือกีตาร์ระดับต้น ๆ ของประเทศ
พิพัฒน์ ต้นกันยา นักฟุตบอลทีมชาติไทย
มนตรี เจนอักษร
แมว จีรศักดิ์ ปานพุ่ม
ต้อย หมวกแดง
แจ๊ค มงคล ธรรมดี
พรศักดิ์ ส่องแสง
ศิริพร อำไพพงษ์
เปิ้ล ชไมพร สิทธิวรนันท์
ปอยฝ้าย มาลัยพร
คำมอด พรขุนเดช
ปริศนา วงศ์ศิริ
โชกุน บรรเจิด สันธนะพานิช
ส้มโอ พรางชมพู
หงส์ทอง ดาวอุดร
[แก้] ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดอุดรธานี
เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี Robinson & Major Cineplex & Major Bowl Hits
เทสโก้ โลตัส [Hypermarket] ถนนรอบเมืองอุดร-หนองคาย
เทสโก้ โลตัส [Hypermarket] ถนนรอบเมืองอุดร-หนองบัวลำภู สาขานาดี
เทสโก้ โลตัส [Supermarket] สาขา ยูดีทาว์น
เทสโก้ โลตัส [Express] สาขา ตลาดบ้านห้วย
เทสโก้ โลตัส [Express] สาขา หนองขอนกว้าง (หน้า ร.พ.ค่ายประจักษ์ฯ)
เทสโก้ โลตัส [Express] สาขา โนนสูง
เทสโก้ โลตัส [Express] สาขา โนนสะอาด
เทสโก้ โลตัส [Market] หนองหาน
เทสโก้ โลตัส [Market] บ้านผือ
คาร์ฟูร์ อุดรธานี
บิ๊กซี สาขาอุดรธานี
แม็คโคร สาขาอุดรธานี
ศุนย์การค้า UD TOWN

Tool Pro Plus
Home Pro
Index Living Mall
Global House
St.Mall Ceramic Kitchen Bathroom
โบ๊เบ๊อุดร
ตั้งงี่สุน บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ สาขา 1
ตั้งงี่สุน บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์สโตร์ สาขา 2 บ้านนาดี
เซฟ มาร์ท ห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งเซงเฮง สาขา 1 ถ.โพธิ์ศรี
เซพ มาร์ท ห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งเซงเฮง สาขา 2 ถ.วงแหวนรอบใน (ถ.มิตรภาพ)
Top World บริษัท อุดรท๊อปเวิลด์ จำกัด
ศูนย์การค้า ห้าแยกสแควร์
ศูนย์การค้า พระยาอุดร
เซ็นเตอร์ พอยต์
ตลาดปรีชา
ตลาดเริ่มอุดม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตั้งจิ้นเซง ซุปเปอร์มาร์เก็ต
[แก้] อ้างอิง
^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
[แก้] ดูเพิ่ม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
วังนาคินทร์คำชะโนด
สโมสรฟุตบอลอุดรธานี
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัดอุดรธานี
เทศบาลนครอุดรธานี
udclick.com ชุมชนออนไลน์ของชาวอุดรธานี
udonechamber.com หอการค้าจังหวัดอุดรธานี
Community Web Site สำหรับชาวอุดรธานี
Skyscrapercity ติดตามข่าวสารต่างๆในเมืองอุดรธานี
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°25′N 102°47′E / 17.41°N 102.79°E / 17.41; 102.79
แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดอุดรธานี
แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแมปส์
ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
สถาบันเพิ่มทักษะการเรียนรู้นานาชาติ IIE อุดรธานี [1] สอนภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส โดยอาจารย์เจ้าของภาษา
[แสดง]ด • พ • กอำเภอ ในจังหวัดอุดรธานี

เมืองอุดรธานี • กุดจับ • หนองวัวซอ • กุมภวาปี • โนนสะอาด • หนองหาน • ทุ่งฝน • ไชยวาน • ศรีธาตุ • วังสามหมอ • บ้านดุง • บ้านผือ • น้ำโสม • เพ็ญ • สร้างคอม • หนองแสง • นายูง • พิบูลย์รักษ์ • กู่แก้ว • ประจักษ์ศิลปาคม

[แสดง]ด • พ • กเมืองหลวงและจังหวัดของประเทศไทยในปัจจุบัน แบ่งตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน

เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร

ภาคเหนือ เชียงราย • เชียงใหม่ • น่าน • พะเยา • แพร่ • แม่ฮ่องสอน • ลำปาง • ลำพูน • อุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กาฬสินธุ์ • ขอนแก่น • ชัยภูมิ • นครพนม • นครราชสีมา • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • ศรีสะเกษ • สกลนคร • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อำนาจเจริญ • อุดรธานี • อุบลราชธานี

ภาคกลาง กำแพงเพชร • ชัยนาท • นครนายก • นครปฐม • นครสวรรค์ • นนทบุรี • ปทุมธานี • พระนครศรีอยุธยา • พิจิตร • พิษณุโลก • เพชรบูรณ์ • ลพบุรี • สมุทรปราการ • สมุทรสงคราม • สมุทรสาคร • สระบุรี • สิงห์บุรี • สุโขทัย • สุพรรณบุรี • อ่างทอง • อุทัยธานี

ภาคตะวันออก จันทบุรี • ฉะเชิงเทรา • ชลบุรี • ตราด • ปราจีนบุรี • ระยอง • สระแก้ว

ภาคตะวันตก กาญจนบุรี • ตาก • ประจวบคีรีขันธ์ • เพชรบุรี • ราชบุรี

ภาคใต้ กระบี่ • ชุมพร • ตรัง • นครศรีธรรมราช • นราธิวาส • ปัตตานี • พังงา • พัทลุง • ภูเก็ต • ยะลา • ระนอง • สงขลา • สตูล • สุราษฎร์ธานี

[แสดง]ด • พ • กจังหวัดของประเทศไทยในอดีตและโครงการจัดตั้งในอนาคต

จังหวัดของไทยในอดีต พระนคร • ธนบุรี • มีนบุรี • ธัญบุรี • กระบุรี • ตะกั่วป่า • พระตะบอง • พิบูลสงคราม • นครจำปาศักดิ์ • ลานช้าง • ประจันตคีรีเขต • ศรีโสภณ • หล่มสัก • สวรรคโลก • พระประแดง • หลังสวน • สายบุรี • กบินทร์บุรี • ขุขันธ์ • ไชยา • ไทยใหญ่ (เชียงตุง) • มาลัย (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส)

จังหวัดที่เคยได้รับการพิจารณา ชุมแพ • ไกลกังวล • สุวรรณภูมิมหานคร • แม่สอด • ไชยปราการ • พระนารายณ์ • นาทวี • เทิงนคร • โพนทอง

จังหวัดที่รอการพิจารณาอนุมัติ บึงกาฬ • ฝาง • รัตนบุรี

[แสดง]ด • พ • กกีฬาแห่งชาติเขต 4

สกลนคร · อุดรธานี · มหาสารคาม · ขอนแก่น · นครพนม · เลย · ร้อยเอ็ด · หนองคาย · กาฬสินธุ์ · มุกดาหาร

จังหวัดอุดรธานี เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดอุดรธานี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5".
หมวดหมู่: จังหวัดอุดรธานี | บทความเกี่ยวกับ เขตการปกครองในไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิง | บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
เครื่องมือส่วนตัว
คุณลักษณะใหม่ ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้ เนมสเปซ
บทความ อภิปราย สิ่งที่แตกต่างดู
ดูเนื้อหา แก้ไข การกระทำประวัติ
สืบค้น

ค้นหาป้ายบอกทาง
หน้าหลัก
เหตุการณ์ปัจจุบัน
ถามคำถาม
บทความคัดสรร
บทความคุณภาพ
สุ่มเนื้อหา
มีส่วนร่วม
ศาลาประชาคม
ปรับปรุงล่าสุด
ติดต่อวิกิพีเดีย
บริจาคให้วิกิพีเดีย
วิธีใช้
พิมพ์/ส่งออก
สร้างหนังสือ
ดาวน์โหลดในชื่อ PDF
หน้าสำหรับพิมพ์
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
ปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
อัปโหลด
หน้าพิเศษ
ลิงก์ถาวร
อ้างอิงบทความนี้
ภาษาอื่น
Acèh
ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী
Català
Deutsch
English
Français
Italiano
日本語
한국어
Bahasa Melayu
Nederlands
‪Norsk (bokmål)‬
Polski
Português
Svenska
Тоҷикӣ
Tiếng Việt
Winaray
中文
Bân-lâm-gú
หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553 เวลา 14:26 น.
อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน; เงื่อนไขอื่นอาจใช้ประกอบด้วย โปรดศึกษาเงื่อนไขการใช้งาน
Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย

ติดต่อเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น